Header image header image 2  
optional tagline here
  || HOME ||
   
 
                                             ขอเสนอทางเลือกใหม่แหง่การลงทุน

                                   สะพานข้ามโขงไทย-ลาว แห่งที่ 2 :สะพานเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

    เรามีที่ดินต้องการขาย ติดหน้าสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จ.มุกดาหารติดหน้าด่านฝั่งไทย มี18.5ไร่ หน้ากว้างติดถนนของโครงการ200เมตร
(ถนนของโครงการยาวฝั่งละ 500เมตร)
เหมาะแก่การเอาไปทำตลาดอินโดจีน,โกดังสินค้า,และเก็งกำไรเชิงธุระกิจ เราเป็นเจ้าของมีโฉนดพร้อมข้อมูลที่จำเป็นแก่การลงทุน

รูปแสดงที่ตั่ง

ข้อมูลที่น่าสนใจ

สะพานข้ามโขงไทย-ลาว แห่งที่ 2 :สะพานเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บทวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ผู้จัดการ 4 ก.พ. 2545
สะพานข้ามโขง 2 การรอคอยที่ยาวนานราวครึ่งทศวรรษกำลังกลายเป็นความจริง สะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่างไทย-ลาวแห่งที่ 2 จะเริ่มก่อสร้างช่วงปลายปี 2545
โดยจุดก่อสร้างสะพานบริเวณฝั่งไทยอยู่ที่บ้านสงเปือย บ้านบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร และฝั่งลาวอยู่ระหว่างรอยต่อบ้านท่าอุดมและบ้านนาแก เมืองคันทะบุรี
แขวงสะหวันนะเขต สะพานมีความยาวทั้งสิ้น 1.6 กิโลเมตร
 สะพานแห่งใหม่นี้ ได้รับเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation-JBIC) ซึ่งอนุมัติวงเงินกู้ให้ไทยและลาว
รวมทั้งสิ้น 8,900 ล้านเยน หรือ 3,200 ล้านบาทเมื่อปลายปี 2544 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายก่อสร้างสะพานแห่งนี้
สำหรับประเทศไทย เม็ดเงินที่ขอกู้จากธนาคาร JBIC มูลค่าทั้งสิ้น 4,079 ล้านเยน หรือ 1,360 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินกู้ส่วนก่อสร้าง 1,282 ล้านบาท รัฐบาลญี่ปุ่นคิดอัตรา
ดอกเบี้ย 1% ต่อปี ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 30 ปี และเงินกู้ส่วนงานปรึกษาโครงการ 78 ล้านบาท คิดอัตรา 0.75 ต่อปี ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 40 ปี
สำรวจความพร้อมไทย-ลาว
? จุดก่อสร้าง & ศักยภาพเมือง คาดว่าสะพานข้ามโขงแห่งที่ 2 จะสวมบทบาท “สะพานธุรกิจ” มากกว่าสะพานข้ามโขงแห่งที่ 1 ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดหนองคายของไทยและ
นครเวียงจันทน์ของลาว เนื่องจากจุดก่อสร้างสะพานข้ามโขง 2 เหมาะสม ประกอบกับศักยภาพจังหวัดมุกดาหารของไทยและแขวงสะหวันนะเขตของลาว
การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ดี สรุปได้ดังนี้
?มุกดาหาร เป็นจังหวัดที่ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเอื้ออำนวยต่อการเป็น
เมืองศูนย์กลางการค้า-การลงทุน-การท่องเที่ยว และการขนส่ง การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจของมุกดาหาร ได้แก่

?เส้นทางคมนาคมในเขตจังหวัด ถนนหนทางภายในจังหวัดมุกดาหารและรอบ
นอกเมืองส่วนใหญ่ใช้การได้ดี นอกจากนี้จังหวัดมุกดาหารอยู่ใกล้สนามบินสำคัญ 2 แห่ง ได้แก่ สนามบินสกลนคร และสนามบินอุบลราชธานี ซึ่งมีระยะทางห่างจากมุกดาหาร
ประมาณ 120-150 กิโลเมตรขณะเดียวกันรัฐบาลอนุมัติโครงการก่อสร้างทางหลวง 4 ช่องจราจรที่สำคัญ 2 เส้นทางมาจังหวัดมุกดาหาร เส้นทางแรก ได้แก่ เส้นทางถนนจาก
บริเวณโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ชลบุรี-ระยอง) ผ่านสระแก้ว บุรีรัมย์ ยโสธร สิ้นสุดที่มุกดาหาร

ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง เริ่มจากบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำเมย จังหวัดตาก มาพิษณุโลก ขอนแก่น สิ้นสุดที่มุกดาหาร วัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมพม่า จีนตอนใต้ และ
ไทย รวมทั้งกลุ่มประเทศอินโดจีนเข้าด้วยกัน ซึ่งประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง

? ไฟฟ้า มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากกำลังไฟฟ้าที่มีอยู่
ขณะนี้คือ 5 เมกะวัตต์ ขณะที่ปริมาณใช้ไฟฟ้าทั้งจังหวัด 1.5 เมกะวัตต์

? การประปา ขยายกำลังการผลิตจากเดิม ให้รองรับการเติบโตจังหวัด
มุกดาหารอีก 20 ปีข้างหน้า ใช้งบประมาณราว 150 ล้านบาท

?แขวงสะหวันนะเขต ของลาว เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรใหญ่ที่สุด
เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ทั้งยังเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของลาว ประมาณ 800,000 คน ขณะที่เวียงจันทน์ เมืองหลวงลาว ประชากรอาศัยอยู
่ราว 500,000 คน

ปัจจุบันรัฐบาลลาวกำหนดให้แขวงสะหวันนะเขตเป็น “เขตการค้าเสรีและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ” ที่สำคัญคือเป็นจุดเริ่มของเส้นทางหมายเลข 9 กลุ่มประเทศอินโดจีน
ซึ่งเชื่อมต่อกับตอนกลางของเวียดนาม

? ธนาคารพาณิชย์รองรับธุรกรรมการเงิน
?มุกดาหาร ธนาคารพาณิชย์ของไทยในจังหวัดมุกดาหารมีทั้งสิ้น 10 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น

คาดว่าภายหลังการเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จะมียอดเงินสะพัดในมุกดาหารเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมุกดาหารมียอดเงินในระบบธนาคารทั้งหมด 7,491.3 ล้านบาท
แบ่งเป็นยอดเงินฝากทั้งสิ้น 3,937.3 ล้านบาท ยอดเงินให้สินเชื่อ 3,554 ล้านบาท

?แขวงสะหวันนะเขต ธนาคารลาวในแขวงสะหวันนะเขตมีทั้งสิ้น 4 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารลาวใหม่ ธนาคารเชษฐาธิราช ธนาคารส่งเสริมการเกษตร และธนาคารการค้า
ต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่โอนเงินตราต่างประเทศ ขณะนี้ธนาคารดังกล่าวกำลังเร่งพัฒนา และปรับปรุงระบบการทำงาน เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกรรมการเงิน เมื่อเปิด
ใช้สะพานข้ามโขง 2 ภายในปี 2549

? ศักยภาพที่พัก-โรงแรม
?มุกดาหาร มีโรงแรมรวมทั้งสิ้น 11 แห่ง เป็นโรงแรมขนาดใหญ่ห้องพักตั้งแต่ 150-200 ห้อง ได้แก่ โรงแรมมุกดาหารแกรนด์ และโรงแรมพลอยพาเลซ เป็นต้น ขณะที่จังหวัด
ใกล้เคียงคือ จังหวัดสกลนคร มีโรงแรมขนาดใหญ่รองรับนักท่องเที่ยวได้ 2-3 แห่ง อาทิ สกลแกรนด์พาเลซ ที่มีห้องพักราว 120 ห้อง เป็นต้น

?แขวงสะหวันนะเขต ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติดำเนินธุรกิจโรงแรมในแขวงสะหวันนะเขตค่อนข้างมาก โรงแรมของนักธุรกิจไทย ได้แก่ โรงแรมแม่โขง สำหรับโรงแรมขนาดใหญ
่สุดเป็นของนักธุรกิจจีน ได้แก่ โรงแรม Nanhai โรงแรม Hungthip และโรงแรม Homkhyo ขณะที่โรงแรมนักธุรกิจลาว ได้แก่ โรงแรมพรประเสริฐ โรงแรมพรวิไล โรงแรม
สันติภาพ และโรงแรมสะหวันบ้านเฮา ส่วนโรงแรมที่ลาวและเวียดนามร่วมกันลงทุน ได้แก่ โรงแรมสะหวันไซกง

ประโยชน์ของสะพานข้ามโขง 2
ภายหลังการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เสร็จ คาดว่าจะเอื้ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
โดยเฉพาะไทย-ลาว และเวียดนาม สรุปสาระสำคัญดังนี้

?ด้านการค้า สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จะช่วยส่งเสริมการค้าไทย ลาว เวียดนาม ให้เฟื่องฟูและคล่องตัว เนื่องด้วยสินค้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย จะสามารถ
กระจายสู่ตลาดแขวงสะหวันนะเขตของลาวได้สะดวกรวดเร็วขึ้น จากนั้นส่งต่อไปชายแดนเวียดนามที่เมืองลาวบาว ผ่านเส้นทางถนนหมายเลข 9 ซึ่งมีทางออกถึงท่าเรือน้ำลึก “ดานัง”
ของเวียดนาม

เมื่อพิจารณาจังหวัดมุกดาหาร จุดก่อสร้างสะพานเชื่อมต่อกับแขวงสะหวันนะเขตของลาว พบว่ามีธุรกรรมการค้ากับลาวค่อนข้างมาก มูลค่าการค้าชายแดนรวม (ส่งออก+นำเข้า)
กับประเทศลาวปี 2544 ประมาณ 4,916 ล้านบาท แยกเป็นการส่งออกสินค้าไปลาวมูลค่าราว 4,100 ล้านบาท และการนำเข้าสินค้าจากลาวประมาณ 816 ล้านบาท ไทยได้ดุลการค้า
ลาวบริเวณชายแดนมุกดาหาร 3,280 ล้านบาท
สำหรับสินค้าส่งออกชายแดนไปลาว ได้แก่ ยานพาหนะ ของใช้ประจำวัน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่สินค้านำเข้าชายแดนจากลาว ได้แก่ ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินค้ากสิกรรม
ยานพาหนะนำกลับมาใช้ เครื่องจักรที่ไม่ใช้ไฟฟ้านำกลับมาใช้ เป็นต้น
ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบศักยภาพการค้าจังหวัดมุกดาหารกับจังหวัดชายแดนแถบภาคอีสานของไทยที่มีพรมแดนติดกับลาว มุกดาหารมีมูลค่าการค้ากับลาวสูงอันดับ 2 รองจาก
จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 1 เชื่อมต่อกรุงเวียงจันทน์ มูลค่าการค้าชายแดนกับลาวสูงสุด 11,200 ล้านบาทปี 2544

ดังนั้นหากโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เสร็จ คาดว่าจะช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าระหว่างไทย-ลาวเขตจังหวัดมุกดาหารและสะหวันนะเขต
มูลค่าการค้าชายแดนสูงขึ้น ส่งผลดีต่อการค้าไทย-ลาวโดยรวมให้ขยายตัวตาม
โดยมูลค่าการค้าชายแดนรวม (ส่งออก+นำเข้า) ของไทย-ลาวปี 2544 ระดับ 22,200 ล้านบาท คิดเป็นอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าชายแดนรวมปี
2543

?ด้านการลงทุน สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จะช่วยดึงดูดนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติให้ดำเนินโครงการลงทุนที่มุกดาหารเพิ่มขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นประโยชน์การเปิดช่อง
ทางขนส่งสินค้าไปลาวผ่านเส้นทางหมายเลข 9 ส่งต่อท่าเรือดานังของเวียดนาม

ขณะนี้ภาครัฐบาลเตรียมยกระดับฐานะจังหวัดมุกดาหารให้เป็น “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ซึ่งธุรกิจที่ส่งเสริมให้ลงทุนเขตนี้ ได้แก่ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โรงงาน
ไฟเบอร์กลาสโรงงานพลาสติก เป็นต้น

นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐวางแผนจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวะเขตจังหวัดมุกดาหารเพิ่มขึ้นอีกราว 5 แห่งช่วง 5-6 ปีนี้ เพื่อสร้างแรงงานฝีมือให้เพียงพอรองรับอุตสาหกรรม
ที่จะเกิดขึ้นเขตนี้

คาดว่าสถานการณ์การลงทุนเขตจังหวัดมุกดาหารจะมีแนวโน้มสดใสในอนาคต ขณะที่นักลงทุนญี่ปุ่นเดินทางดูสภาพการลงทุนจังหวัดมุกดาหารแล้ว พร้อมกับระบุว่ามีศักยภาพ
เหมาะแก่การลงทุน

?ด้านการท่องเที่ยว ปัจจุบันประชาชนไทย-ลาว 2 ฝั่งโขงเขตมุกดาหารและสะหวันนะเขต เดินทางค้าขายและไปมาหาสู่ระหว่างกัน โดยใช้บริการแพขนานยนต์ บริเวณ
“ท่าข้ามเรือสะหวันนะเขต-มุกดาหาร” ริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นสำคัญ คิดอัตราค่าบริการข้ามฟากคนละ 20 บาท และรถยนต์คิดอัตราคันละ 100-200 บาท

การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จะเอื้อให้การเดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศไทย-ลาว เชื่อมต่อไปเวียดนาม สะดวกและรวดเร็วขึ้น คาดว่าสถานการณ์การท่องเที่
ยวบริเวณนี้จะทวีความคึกคักมากขึ้น

ยิ่งกว่านั้นสะพานข้ามโขง 2 คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้จังหวัดมุกดาหารเพิ่มขึ้น จากนักท่องเที่ยวและกรุ๊ปทัวร์ รวมทั้งการจองโรงแรมใกล้กับบริเวณเชิง
สะพานริมโขง เพื่อจัดโปรแกรมสัมมนาเชิงวิชาการ อาจเป็นผลให้โรงแรมทั้งสองฝั่งโขงมีการจองคิวที่ยาวเหยียด

ขณะที่ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก คาดว่าจะผุดขึ้นอีกหลายแห่งบริเวณเชิงสะพาน ทำให้มียอดเงินสะพัดเข้าสู่มุกดาหารเพิ่มขึ้น หลังจากเปิดใช้สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2

มุกดาหารเป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนแถบภาคอีสาน ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวไม่ยิ่งหย่อนกว่าจังหวัดใด ปัจจุบันนักท่องเที่ยวที่เดินทางมามุกดาหารประมาณปีละ
640,000 คน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวไทยเกือบ 600,000 คน ส่วนที่เหลือเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40,000 คน

นักท่องเที่ยวไทยใช้จ่ายเฉลี่ยราว 684 บาท/คน/วัน ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติใช้จ่ายเฉลี่ย 1,005 บาท/คน/วัน โดยสรุปมุกดาหารมีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณปีละ
650 ล้านบาท

ข้อพึงระวัง
?ค่าธรรมเนียมการใช้สะพาน สะพานข้ามโขงแห่งที่ 2 เป็นสะพานที่ใช้งบประมาณก่อสร้างสูงราว 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินกู้ที่ไทยและลาวได้รับจากธนาคาร JBIC ญี่ปุ่น
แตกต่างจากสะพานมิตรภาพหนองคาย-เวียงจันทน์ ที่ใช้เงินทุนก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 1,217 ล้านบาท ส่วนหนึ่งนั้นได้รับเงินทุนแบบให้เปล่าจากรัฐบาลออสเตรเลียมูลค่า 750
ล้านบาท ดังนั้นหากทางการไทยเรียกเก็บค่าใช้บริการสะพานข้ามโขง 2 อัตราสูงกว่าค่าบริการ “แพขนานยนต์” ที่ประชาชนสองฝั่งโขงใช้บริการขณะนี้ อาจเป็นเหตุให้
ปริมาณการใช้สะพานเบาบางกว่าที่คาด ซึ่งมีบทเรียนตัวอย่างจากสะพานข้ามโขงแห่งแรกมาแล้ว
กล่าวคืออัตราค่าใช้บริการสะพานมิตรภาพไทย-ลาวที่จังหวัดหนองคายและเวียงจันทน์ เก็บค่าข้ามสะพานอัตราคนละ 10 บาท ส่วนรถยนต์คิดค่าข้ามสะพานคันละ 100 บาท
นอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมการใช้สะพาน 50 บาท/คน และการนำรถขับข้ามสะพาน ต้องเสียค่าประกันภัยรถยนต์อีกด้วย
โดยสรุปการขับรถยนต์จากฝั่งไทยเข้าลาวต้องเสียค่าใช้จ่ายเกือบราว 1,000 บาท ซึ่งประชาชนทั้งสองฝั่งโขงต่างเห็นว่าหากค่าธรรมเนียมการใช้สะพานลดลงกว่านี้ ปริมาณ
การใช้สะพานรถยนต์สัญจรไปมาผ่านทางสะพานนี้จะเพิ่มขึ้น

?ระวังเวียดนามเป็น “ตาอยู่” ขณะนี้เวียดนามเตรียมพัฒนาพื้นที่ชายแดนซึ่งติดกับลาว ฝั่งลาวเรียกว่า “แดนสวรรค์” ส่วนเวียดนามเรียกว่า “ลาวบาว” นั้น เพื่อเตรียมรับเส้นทาง
หมายเลข 9 ของลาวอย่างดีพร้อม นอกจากนี้เวียดนามยังจัดตั้งเมืองลาวบาวให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพราะเป็นเขตพื้นที่อุดมด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ ขณะนี้กำลังเป็นที่สนใจของ
นักลงทุนต่างชาติที่จะก่อสร้างโรงงานถลุงแร่ ขณะที่ดานัง เมืองท่าสำคัญของเวียดนาม และเป็นเมืองที่มีประชากรมากอันดับ 2 ของเวียดนาม สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ได้ราว
30,000 ตัน

ประเด็นที่ไทยควรพิจารณาขณะนี้คือ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ซึ่ง
สามารถเชื่อมต่อไปยังเมืองลาวบาวของเวียดนาม ผ่านเมืองกวางตีร์ เมืองเว้ และเลยไปถึงเมืองท่าดานัง อาจทำให้สินค้าเวียดนามเข้ามาตีตลาดสินค้าไทยเพิ่มขึ้น โดยใช้เส้นทาง
สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 ไทยมีประสบการณ์จากการที่สินค้าจีนไหลทะลักเข้าไทย ส่วนหนึ่งนั้นเป็นสินค้าจากมณฑลยูนนานของจีน ที่ผ่านเข้าสู่ลาวโดยใช้เส้นทางหมาย
เลข 13 ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งแรก

ข้อเสนอแนะ
? ผลักดันมุกดาหารเป็น “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” เพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านการลงทุน และดึงดูดนักท่องเที่ยวของจังหวัดมุกดาหาร ทางการไทยควรจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารให้เป็น
“เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ซึ่งให้สิทธิพิเศษเพิ่มเติมมากกว่าปัจจุบัน ขณะนี้มุกดาหารเป็นจังหวัดที่อยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนโซน 3 ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีการดำเนินธุรกิจบางประเภท
8 ปีแรก หลังจากปีที่ 8 จะเสียภาษีครึ่งหนึ่งคือ 15% 5 ปี ต่อจากนั้นกำหนดให้ธุรกิจเสียภาษีอัตรา 30% ซึ่งจังหวัดมุกดาหารเรียกร้องให้ทางการลดหย่อนภาษีอัตรา 15% นับ
ตั้งแต่ปีที่ 9 ของการดำเนินธุรกิจเป็นต้นไป เพราะเป็นเกณฑ์ที่เวียดนาม และเมืองคุนหมิงของจีนถือปฏิบัติอยู่ เพื่อจะได้ไม่เกิดข้อเปรียบเทียบในเชิงการลงทุน

?สานฝันมุกดาหาร---ประตูอินโดจีน การจัดเสวนาเพื่อรวบรวมแนวคิดพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร อาทิ หัวข้อ “เมื่อมีสะพานข้ามโขง 2 แล้ว จะเป็นผลดีต่อจังหวัดมุกดาหารอย่างไร” จะช่วยเตรียมความพร้อมของจังหวัดมุกดาหารให้สามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมในอนาคต

นอกจากนี้การขยายตัวของเขตเมืองในมุกดาหาร อาจส่งผลด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งจังหวัดมุกดาหารมิควรมองข้ามในประเด็นดังกล่าว

?ตั้งสำนักงานตัวแทนทัวร์ในลาวและเวียดนาม ผู้ประกอบการเกี่ยวกับธุรกิจเดินทางท่องเที่ยวข้ามไปฝั่งลาว ทั้งการท่องเที่ยวลักษณะไปเช้ากลับเย็น (one way tour) และการจัด
ท่องเที่ยวครบวงจร ซึ่งเป็นแพ็กเกจทัวร์ 3 ประเทศ คือ ไทย ลาว และเวียดนาม ควรพิจารณาตั้งสำนักงานตัวแทนในเมืองสะหวันนะเขตของลาว และเมืองเว้ของเวียดนาม เพื่อขยาย
ตลาดไปพร้อมๆ กัน

ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลไทยควรใส่ใจให้ความช่วยเหลือลาว ร่วมพัฒนาแขวงสะหวันนะเขตของลาวไปพร้อมๆ กับไทย โดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเขตบริเวณ
เชื่อมต่อกับเขตไทย รวมทั้งเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเชื่อมโยงเวียดนามต่อไป สะพานข้ามโขงแห่งที่ 2 อาจไม่ประสบผลสำเร็จดังคาด หากการพัฒนาราบรื่นเพียงฝั่งไทย

บทสรุปส่งท้าย
โครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ซึ่งเป็นโครงการธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) East-West Corridor มีแนวเส้นทางที่เกือบ
เป็นเส้นตรง พาดผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มจากเมืองมะละแหม่งในพม่า ผ่านเมืองผา-อัน เมียวดี เข้าแม่สอดของไทย ผ่านตาก พิษณุโลก ขอนแก่น กาฬสิทธุ์
และมุกดาหาร เข้าลาวที่สะหวันนะเขต และออกทะเลจีนตอนใต้ที่เมืองดานังในเวียดนาม ระยะทางรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,500 กิโลเมตร

สำหรับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่จะสร้างขึ้นที่มุกดาหารของไทยและแขวงสะหวันนะเขตของลาวปลายปี 2545 โดยคาดว่าจะเสร็จภายในปี 2549 นับเป็นโครงการหนึ่งของ
แนวคิดขยายเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) สืบเนื่องจากโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาว หรือสะพานข้ามโขงแห่งแรก ที่จังหวัดหนองคายของไทย
และกรุงเวียงจันทน์ของลาว ซึ่งเปิดใช้กว่า 7 ปีแล้ว นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา
ข้อมูลจาก http://www.thaico.net